วัยสูงอายุ

วัยสูงอายุ

            1. การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย  เซลล์ต่างๆเริ่มตายและมีเซลล์ใหม่เกิดทดแทนได้น้อยและเชื่องช้า ร่างกายสึกหรอ บุคลิกภาพเสีย เช่น หลังโกง ผมหงอก ฟันหลุดร่วง ตาฝ้าฟาง หูตึง ผิวหนังเหี่ยวย่น กล้ามเนื้อหย่อนยาน บางรายมือเท้าสั่น การทรงตัวไม่ดี ถ้ามีการเจ็บป่วยจะรักษาลำบากกว่าวัยอื่น แม้หายจากโรคแล้ว ถึงจะบำรุงอย่างไร ก็เจริญได้ไม่เหมือนเดิม
            2. การเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์ บุคคลวัยนี้มักจะชอบบ่น อารมณ์ไม่คงที่ โกรธง่าย แต่บางรายใจดี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ สิ่งแวดล้อม สังคม และประสบการณ์ที่ผ่านมา และขึ้นอยู่กับสภาพเศรษฐกิจในครอบครัวด้วย ความพอใจของคนวัยชราเป็นจำนวนมากเกิดจากมิตรภาพและการได้มีโอกาสช่วยเหลือ การบริจาคเงินเพื่อสาธารณะกุศลต่างๆ
            3. การเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม  บุคคลวัยนี้ส่วนใหญ่จะสนใจเรื่องวัด ธรรมะธัมโม ใจบุญสุนทาน บางรายสละเพศเข้าสู่บรรพชิตอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม บางรายสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจบังคับให้ไม่สามารถทำตามที่ใจปรารถนาได้ ต้องหาเลี้ยงชีพหรือได้รับมอบหมายให้เป็นผู้เลี้ยงดูเด็กเล็กๆจึงกลายเป็นที่พึ่งและเพื่อนเล่นของลูกหลาน มีความสุขและเพลิดเพลินไปกับลูกหลานตัวเล็กๆ
            4. พัฒนาการทางด้านสติปัญญา  บุคคลวัยนี้มักจะมีความคิดอ่านที่ดี สุขุมรอบคอบ แต่ขาดความคิดริเริ่ม มักยึดถือหลักเกณฑ์ที่ตนเองเชื่อ หลงลืมง่าย ความจำเลอะเลือน ทำให้ความสามารถในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เป็นไปได้ยากมากวัยชราเป็นวัยที่ส่วนต่างๆ ของร่างกายค่อยๆ เสื่อมลงไปตามเวลา สมองเริ่มเสื่อมโทรมอวัยวะต่างๆ ทำงานอย่างไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ กล้ามเนื้ออ่อนเหลวและถูกแทนที่ด้วยไขมัน ความแข็งแรง กำลังวังชาลดน้อยถอยลง แต่ในด้านความสามารถทางด้านจิตใจอาจจะมีการพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ เช่น มีความสุขุม รอบคอบขึ้น จิตใจเยือกเย็น ดังนั้น ถ้าหากลูกหลานเข้าใจถึงพฤติกรรมต่างๆ ของคนวัยชรา และปฏิบัติต่อคนชราอย่างเหมาะสม ก็จะช่วยให้คนชรารู้สึกว่าตนเองยังมีคุณค่าอยู่และผลที่จะคืนกลับสู่ลูกหลานคือ การมีที่พึ่งทางใจที่อบอุ่นและจริงใจ สำหรับคนวัยชราเองก็ควรจะศึกษาหาแนวทางปฏิบัติให้เหมาะสมกับวัยชราของตนเอง เช่น การหากิจกรรมที่สอดคล้องกับชีวิตบางรายสิ่งแวดล้อม



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น